Monthly Archives: มีนาคม 2011

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2003 R2 32/64 บิต เวอร์ชั่น 2553/2010 SATA AHCI

สำหรับผู้ใช้ระดับสูง

สำหรับการติดตั้ง วินโดว์ตระกูลนี้  (ตัวอย่าง Windows Server 2003 SP1 R2 32 bit) มีให้เห็นไม่บ่อยนักนะครับ ขั้นตอนและวิธีการคล้ายการติดตั้งวินโดว์เอ็กพี เพราะใช้หลักพัฒนาคล้ายๆกัน (ในการทดสอบจริงมีอยู่ 3 รุ่น Windows server 2003 SP1 R2 SATA AHCI  Windows Server 2003 SP2 R2 SATA AHCI  และ Windows Server SP2 R2 SATA AHCI 64บิต)

* เริ่มจากการเตรียมแผ่นติดตั้ง เวอร์ชั่นที่อัปเกรด SATA AHCI ให้พร้อม จะได้ไม่ติดปัญหาในเครื่องรุ่นใหม่ๆ จากนั้นตั้งค่าการบู๊ตเป็นซีดี/ดีวีดี ให้บู๊ตเป็นลำดับแรก

***ส่วนการเปิดโหมด AHCI ในรุ่นใหม่ๆนั้น โน๊ตบุ๊ค-คอมแบรนด์เนมส่วนมากจะเปิดมาจากโรงงานแล้ว แต่คอมประกอบต้องเปิดเองนะครับ

คลิ๊ก ดูการทดสอบความเร็วของ AHCI

 

ขั้นตอนนี้ ให้เลือก Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป กรณีเลือก R จะหมายถึงโหมดการซ่อมวินโดว์ตัวเดิม (ไม่ขอกล่าว)

หน้านี้จะมีในแผ่นติดตั้งต้นฉบับเดิมๆ ให้กด F8 เพื่อยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน (สำหรับแผ่นอัตโนมัติจะไม่มีขั้นตอนนี้)


กรณีแฟ้มที่กำลังอ่านเกิดผิดพลาดจะแสดงข้อความให้ลองทำการคัดลอกซ้ำโดยกดปุ่ม Enter (มักพบในแผ่นเก่าคุณภาพต่ำ)

เริ่มเข้าสู่การติดตั้งปรับแต่งค่าระบบ ในแผ่นตัวอย่างนี้จะทำการปรับเองทั้งหมด เหมือนแผ่นต้นฉบับ

ตั้งชื่อผู้ใช้และองค์กร

ใส่เลขผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง จึงจะสามารถติดตั้งต่อไปได้

กล่องโต้ตอบเตือนการเว้นว่าง รหัสผ่านบัญชีของวินโดว์ ถ้าต้องการเว้นว่างก็ตอบ Yes

เลือกเขตเวลา

สำหรับเวอร์ชั่น R2 จะเริ่มติดตั้งเสริมหลังจากเข้าระบบครั้งแรก

ติดตั้ง R2 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะแสดงเวอร์ชั่นเป็น Windows Server 2003 R2  จะมีอายุใช้งาน 60 วันหลังจากวันติดตั้ง

 

เสร็จสิ้นการติดตั้ง หลังจากนี้เป็นการปรับแต่งส่วนต่างๆ
ขอขอบคุณ
สาคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการปรับแต่ง วินโดว์เอ็กพี เวอร์ชั่น 2553/2010 AHCI Notebook/PC

เมื่อติดตั้งวินโดว์เอ็กพี เวอร์ชั่น 2010 ลุล่วงแล้ว ให้ทำการตรวจเช็คความพร้อมของเครื่องเป็นลำดับต่อไป

คลิ๊กขวาที่เมนู My Computer ได้ทั้งที่เมนู Start และบนเดสท๊อป

คลิ๊กที่ แท๊ป HardWare ด้านบน คลิ๊กที่ Device Manager

รายการที่ยังไม่ได้ติดตั้งไดร์เวอร์ควบคุมอุปกรณ์จะแสดงดังรูปให้จัดเตรียมมาติดตั้งให้สมบูรณ์ (ด้วยแฟ้มติดตั้งอัตโนมัติ Setup.exe )

กรณีวิธีติดตั้งไดร์เวอร์ ทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คแบบเลือกเอง ดับเบิ้ลคลิ๊กในรายการที่ยังไม่ได้ติดตั้งไดร์เวอร์ จะขึ้นหน้าต่างดังรูปตัวอย่าง มีให้อัปเดตไดร์เวอร์ ใช้ได้ทั้งสองแท๊ป

เมื่อคลิ๊กอัปเดตจะปรากฏหน้าต่างนี้ เพื่อเริ่มค้นหาซอฟแวร์ควบคุมอุปกรณ์

เลือกหัวข้อบน สำหรับการค้นหาและติดตั้งเอง (ค้นหาจากระบบและไดร์ซีดีหลัก) ให้เลือกตัวเลือกล่าง สำหรับการติดตั้งไดร์เวอร์ด้วยตนเอง

การค้นหาในตำแหน่งใด เลือกกลุ่มบนเลือกหาไดร์เวอร์ที่เราเก็บไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตัวเลือกย่อย ค้นหาในแผ่นซีดี/ดีวีดี และค้นหาโดยระบุตำแหน่งของแฟ้ม


กรณีเลือกระบุตำแหน่ง ให้คลิ๊ก Browse เพื่อค้นหาตำแหน่งไฟล์ในเครื่อง คลิ๊ก Next เพื่อทำการติดตั้งไดร์เวอร์

สำหรับตัวเลือกกลุ่มล่าง เป็นขั้นสูงผู้ติดตั้งต้องมีความรู้เรื่องไฟล์ไดร์เวอร์เป็นพิเศษ (บังคับลงไดร์เวอร์ใช้ตัวเลือกนี้)

หน้าแสดงรายการไดร์เวอร์ที่มีอยู่ในระบบ ซึ่งมีหลากหลายชนิดอุปกรณ์

เมื่อเลือก Show All จะพบรายการไดร์เวอร์เป็นจำนวนมาก วิธีนี้ใช้เลือกไดร์เวอร์ที่เป็นรุ่นเก่าๆ สำหรับรุ่นใหม่จะไม่มีจะเลือกหามาเพิ่มคลิ๊กที่ Have Disk..

สำหรับการเลือกโดยผู้ติดตั้งทราบชนิดอุปกรณ์แล้ว ก็สามารถเลือกตัวเลือกการค้นหาให้แคบลงมาอีก ดังรูปเลือกชนิดการ์ดจอ

แสดงการคลิ๊ก Have Disk จะมีกรอบหน้าต่างซ้อนขึ้นมาเพื่อให้หาไฟล์ไดร์เวอร์ที่เก็บไว้

ในส่วนการติดตั้งในแบบนี้ จำเป็นต้องใช้ไฟล์นามสกุล .inf เพื่อตรวจเช็คคุณสมบัติของไดร์เวอร์และอุปกรณ์ว่าเข้ากันหรือไม่

กรณีไม่พบไฟล์ที่ใช้ได้ ปุ่ม OK จะจางหาย

เมื่อพบไฟล์ที่นามสกุลใช้ได้ ปุ่ม OK จะนูนเข้าสามารถคลิ๊กได้(เช็คเพียงนามสกุล .inf ไม่สามารถเช็คความเข้ากันได้ในหน้านี้)

ดังตัวอย่าง เลือกมาตำแหน่ง System32 เป็นตำแหน่งตัวอย่างนะครับ

เมื่อนำไฟล์เข้ามา กรณีเข้ากันได้หรือถูกต้องกับอุปกรณ์จะติดตั้งได้ ส่วนไม่ใช่หรือผิดจะแสดงดังรูป

การตรวจเช็คปรับความละเอียดของจอภาพและการแสดงผลอื่นๆ คลิ๊กขวาตรงบริเวณพื้นที่ว่าง เลือกเมนู Properties (บางรุ่นจะปรับค่าความละเอียดให้อัตโนมัติ)

หน้าต่าง Display Properties รายละเอียดการปรับแต่งหน้าเดสท๊อป

ค่าความละเอียด มาตรฐาน อยู่ที่ 1027×768 พิกเซล ดังรูปค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 800×600 พิกเซล (ตัวอย่างยังไม่ได้ลงไดร์เวอร์ เครื่องจริงต้องลงไดร์เวอร์สมบูรณ์ก่อน)

ค่าคุณภาพในการแสดงผล Color Quality มาตรฐานอยู่ที่ 32 บิต

การเปลี่ยนรูปพื้นหลังเดสท๊อป ปรับแต่งได้ในแท๊ป Desktop จะเลือกจากรูปที่มีอยู่หรือค้นหารูปส่วนตัวจากแฟ้มใดๆในเครื่องก็ได้

กรณีค้นหารูปในเครื่อง หลังจากคลิ๊กปุ่ม Browse ในแท๊ป Desktop ในหน้าค้นหาสามารถเลือกรูปแบบในการแสดงได้ในเมนูย่อยดังรูป

**การปิด/ยกเลิก การอัปเดตอัตโนมัติ

ค่าเริ่มต้นจะเปิดไว้ การอัปเดตบางรายการจะมีผลทำให้ไอค่อนและบู๊ตสกรีนเปลี่ยน แต่เวอร์ชั่นนี้ไม่จำเป็นเนื่องรายการอัปเดตเหลือน้อยแล้ว…

คลิ๊กขวาที่ My Computer เลือก Services

สถานะปกติจะ Start/ทำงาน ให้ทำการหยุด/Stop หลังจากติดตั้งวินโดว์ XP2010 เสร็จได้เลย

การปรับยกเลิกการอัปเดตอัตโนมัติ ดับเบิ้ลคลิ๊กในบรรทัด จะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ให้เลือก Diable/เลิกใช้งาน

หลังจากยกเลิกแล้วจะมี หน้าต่าแจ้งเตือนมุมขวาล่างของจอ ไม่ต้องสนใจ ใช้งานตามสะดวก (หรือจะซ่อนไว้ก็ได้)

*** การปรับแต่งตัวชีของเมาส์ เพิ่มเติม

คลิ๊กเมนู Start/เริ่ม คลิ๊กที่เมนู Control Panel

สำหรับต้องการแบบหมุนแทนนาฬิกาทราย เหมือนใน Vista /Windows7

 

ขอขอบคุณ

สาคอมพิวเตอร์

 

ขั้นตอนการติดตั้ง วินโดว์เอ็กพี เวอร์ชั่น 2553/2010 AHCI Notebook/PC

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ดังนี้ แผ่นติดตั้ง เวอร์ชั่น 2010 ถาดเล่น/อ่านแผ่นดีวีดีขึ้นไป ทั้งในตัวเครื่องหรือภายนอกเครื่องก็ได้ เริ่มจากการตั้งค่าลำดับการบู๊ต/เริ่มระบบ ว่าค่าปัจจุบันตั้งอุปกรณ์ใดเป็นตัวเริ่มต้นอันดับแรก กรณีถ้ายังไม่ใช่ DVD ให้ทำการปรับไว้อันดับที่1 จากนั้นทำการบันทึกค่าในไบออส ส่วนมาก กดปุ่ม F10 ตอบ YES (สำหรับ XP เวอร์ชั่นใหม่ การติดตั้งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแฟลซไบออสหรืออัปเกรดไบออสแต่อย่างใด ติดตั้งตามปกติ ส่วนมากจะพบส่วนไดร์เวอร์มากกว่าที่จะต้องเกี่ยวข้องกับไบออส)

รุ่น 32 บิต แนะนำการติดตั้งแรมสูงสุด 4GB และความสามารถในการเรียกใช้งานแรม 3GB ≈ 4GB ขึ้นอยู่กับแต่ละเครื่อง

***ส่วนการเปิดโหมด AHCI ในรุ่นใหม่ๆนั้น โน๊ตบุ๊ค-คอมแบรนด์เนมส่วนมากจะเปิดมาจากโรงงานแล้ว แต่คอมประกอบต้องเปิดเองนะครับ

คลิ๊ก ดูการทดสอบความเร็วของ AHCI

* การเข้าไบออส นั้นให้สังเกตุดูเมื่อเปิดเครื่อง จะแสดงรายละเอียดอยู่หน้าแรกๆ ของการเปิดเครื่องขึ้นมา หลักๆ ปุ่ม Delete/Del.  F2  F10  ESC

* * กรณีเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะมีปุ่มสำหรับเลือกโหมดการบู๊ตได้โดยไม่ต้องเข้าไปตั้งค่าในไบออสให้ยุ่งยาก ใช้ปุ่ม F12 F8 F9 F11  ESC **

การปรับค่าการบู๊ตในหน้าไบออสตัวอย่าง

การเลื่อนลำดับ DVD/CD ไว้ลำดับแรก  แล้วกด F10 เพื่อเซฟค่า

เมื่อขึ้นข้อความ Please Any Key To Boot From CD .. จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ(ปุ่มไหนก็ได้) เพื่อเริ่มการติดตั้ง กรณีไม่กดหรือกดไม่ทันจะไม่เข้าหน้าติดตั้งให้ครับ

เริ่มเข้าสู่กระบวนการติดตั้ง วินโดว์เอ็กพี

โหลดแฟ้มที่จำเป็นในการติดตั้ง รอสักครู่

ขั้นตอนการตรวจสอบหาฮาร์ดดิสในเครื่อง กรณีเครื่องรุ่นที่ใช้โหมด AHCI บนแผ่นเอ็กพีเวอร์ชั่นเก่า จะหยุดในขั้นตอนนี้ จะติดตั้งไม่ได้เนื่องจากขาดแฟ้มที่จำเป็นในการติดต่อควบคุมกับฮาร์ดดิส Stop : 0x0000007B หรือข้อความเตือนไม่พบฮาร์ดดิสในระบบ

เมื่อตรวจหาฮาร์ดดิสพบแล้วจะแจ้ง พาติชั่นที่เคยแบ่งไว้ในครั้งก่อนๆ สำหรับเครื่องใหม่ จะเห็นเพียงเนื้อที่เต็ม บรรทัดเดียว ให้ทำการแบ่งตามขั้นตอนนี้

การแบ่งพาติชั่น/การสร้างพาติชั่น สำหรับฮาร์ดดิสใหม่

กด ปุ่ม C เพื่อสร้างพาติชั่นใหม่ ตามด้วยใส่ตัวเลขความจุตามต้องการ เช่น ฮาร์ดดิส 500GB ต้องการแบ่งไดร์แรก 120 GB ให้พิมพ์ 120000 เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter จะเห็นบรรทัดไดร์ C เพิ่มขึ้นมา เลื่อนลูกศรลงมายังพื้นที่ ที่เหลือ กดปุ่ม C ป้อนตัวเลขตามต้องการ กรณีใช้เต็มที่เหลือ กดปุ่ม Enter ตามค่าที่มีให้ไปได้เลย คร่าวๆ…

เมื่อทำการแบ่งใหม่ หรือมีอยู่เดิมแล้ว ให้เลือกทำการติดตั้งในไดร์แรก (ปกติจะเป็นไดร์C) ตามมาตรฐานทั่วไป จะพบตัวเลือก 5 ตัวเลือกสำหรับดิสที่เคยใช้งานมาแล้ว และ 2 ตัวเลือกสำหรับดิสใหม่ ให้เลือกตัวเลือกบนสุด เป็นการลบข้อมูลแบบเร็ว…

ต้องการลบให้กดปุ่ม F (เพื่อเริ่มติดตั้ง) กรณีเลือกผิดกดปุ่ม ESC เพื่อยกเลิก กลับไปเลือกไดร์ใหม่

ขั้นตอนการ Format หรือลบข้อมูลเดิมออก เพื่อเริ่มเขียนข้อมูลวินโดว์ตัวใหม่ลงไป

เริ่มขั้นตอนการคัดลอกแฟ้มที่จำเป็นในการติดตั้ง ใช้เวลาสักครู่…

คัดลอกแฟ้มทั้งหมดแล้ว จะทำการเริ่มระบบใหม่ (รีสตาร์ท)

**หลังจากเริ่มใหม่ในขั้นตอนหลังจากนี้ ไม่ต้องเคาะปุ่มใดๆแล้วนะครับ ปล่อยให้โหลด Windows เพื่อติดตั้งต่อไป**

หน้าเริ่มบู๊ตเข้า วินโดว์เอ็กพี่ เวอร์ชั่น 2010 จะเป็นลักษณะนี้

ขั้นตอนการโหลดไดร์เวอร์เพื่อติดตั้งให้อัตโนมัติ จะมีในเวอร์ชั่นนี้ Smart Driver

เริ่มติดตังในโหมดกราฟฟิก โดยมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน หน้านี้เป็นขั้นตอนที่ 4

การติดตั้งไดร์เวอร์ กรณีไม่มีการติดตั้งที่ล้มเหลว จะไม่มีกรอบโต้ตอบแสดงขึ้นมา *กรณีมีการติดตั้งล้มเหลว(การ์ดจอค่าย Nvidia) ให้ตอบตกลง และกด Restart ไป ไม่ต้องตกใจ ระบบยังคงติดตั้งเอ็กพีต่อไป ตามขั้นตอนเช่นเดิม

การติดตั้งและปรับค่าระบบเครือข่าย

การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์

การติดตั้งส่วน Start Menu

ขันตอนการปรับปรุงระบบและส่วนเสริม *สังเกตุ สำหรับเวอร์ชั่นที่เปลี่ยนเพียงหน้าตา ขั้นตอนนี้จะไม่นาน ส่วนเวอร์ชั่น 2010 ได้ปรับปรุงต่อเนื่อจากปี 2009 เป็นต้นมา ส่วนเสริม รายการอัปเดตและโปรแกรมพื้นฐานจะติดตั้งให้ในขั้นตอนนี้ จะใช้เวลานานพอสมควร

เริ่มเข้าวินโดว์ หลังจากการติดตั้งเสร็จสิ้น ต่อไปนี้จะเป็นการปรับแต่งส่วนการใช้งาน ใช้รูปแบบพื้นหลัง Dark ปี 2009

บานหน้าต่างโต้ตอบ แจ้งการปรับค่าความละเอียดของส่วนแสดงผล ให้ตอบตกลง OK ไปได้เลยครับ

กรณีการปรับแต่งค่าของไดร์เวอร์และโปรแกรมประยุกต์ยังไม่เสร็จหน้าจอนี้จะค้างนานสักหน่อย

เริ่มเข้าสู่การตั้งค่าการใช้งาน พื้นหลังยังคงใช้ Dark ปี 2009 กดปุ่ม Next ไปตามขั้นตอนได้เลย

เลือกปิดการอัปเดตไปได้เลยครับ คลิ๊ก Next ต่อไป

ก่อนหน้านี้จะมีหน้าเช็คการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จะเข้ามาขั้นตอนนี้ ให้คลิ๊กปุ่ม Skip ไปได้เลย  การลงทะเบียน Regis..ให้เลือก No แล้วคลิ๊ก Next ต่อไป

การตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้ ตามชอบ ส่วนมากแล้วจะใส่เพียงบัญชีเดียว คลิ๊กปุ่ม Next ต่อไป

เสร็จสิ้นการปรับแต่งค่าและบัญชีผู้ใช้ คลิ๊กปุ่ม Finish

หน้าต่างต้อนรับ/ล๊อคอินก่อนเข้าสู่เดสท๊อป แสดงเฉพาะเวอร์ชั่น 2010 ขึ้นไป

เริ่มโปรไฟล์และเตรียมหน้าเดสท๊อป

ประยุกต์ธีม/รูปแบบเดสท๊อป

การติดตตั้งในเบื้องต้น สำเร็จลุล่วงแล้ว ลำดับต่อไป ตรวจเช็คการทำงานของไดร์เวอร์บนอุปกรณ์ทุกตัวบนเครื่องว่าได้ถูกติดตั้งหมดแล้วหรือไม่

 

ขอขอบคุณ

สาคอมพิวเตอร์