Tag Archives: XP SATA RAID 1

การติดตั้ง Windows เพื่อใช้งาน RAID 0 RAID 1 SATA2/SATA3

สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง

การใช้งานนี้ ผู้ใช้ปัจจุบันยังได้รับการติดตั้งน้อยมาก แต่ในเครื่องเซอร์ฟเวอร์นั้นมีใช้กันมานานแล้ว เพื่อรองรับการทำงานจำนวนมากๆ

สินค้าในปัจจุบัน มีรองรับการทำงานนี้มานานพอสมควรแล้ว ทีนี้เรามาลองนำเทคโนโลยีเซอร์ฟเวอร์นี้มาใช้กันดูบ้างว่าเป็นอย่างไร ติดตั้งอย่างไร

เตรียมความพร้อม

– ฮาร์ดดิส 2 ลูก

– เมนบอร์ดที่สนับสนุนเทคโนโลยี RAID 0 RAID 1

– ปรับโหมด การทำงานของชิฟเซ็ตในไบออส เป็น RAID

– เข้าคอนฟิกหน้า RAID Config โดยการกดปุ่มลัด แล้วแต่รุ่นเมนบอร์ดให้ศึกษาจากคู่มือ

– ตั้งค่า โหมดและเพิ่มฮาร์ดดิสเข้าในโหมดนั้นๆ ให้อ่านคำอธิบายและคีย์ลัดในหน้านั้นๆ

– บันทึกค่า แล้วตั้งบู๊ตถาด ดีวีดี อันดับแรก เพื่อติดตั้ง OS

– แผ่นติดตั้งที่รองรับ SATA2/3 RAID AHCI 2011 ขึ้นไป

 

ตัวอย่าง 

 

ครั้งแรก ให้เข้าตัวเลือก 2 เพื่อเริ่มตั้งค่าฮาร์ดดิส

กดคีย์ลัด ตามคำแนะนำ เช่น Ctrl+C = Create…

ดังรูป ตำแหน่งที่เคอเซอร์เลือก RAID 0 คือเลือกใช้ RAID 0 มีฮาร์ดดิสจำนวน 2 ลูก 6Gb/s และสถานะ Assignment ยังเป็น N คือยังไม่ได้เลือกใช้ ให้เลื่อนเคอเซอร์มาที่บรรทัดนี้แล้วเปลี่ยนค่านี้เป็น Y  ทั้ง 2 ลูก เพื่อเลือกเข้าใช้ใน RAID 0 นี้ แล้วกดคีย์ลัดเพื่อบันทึก จะให้ตั้งชื่อ ไดร์ RAID นี้ เป็นอันเสร็จ

เริ่มติดตั้ง OS

สถานะบู๊ตจะเปลี่ยนเป็น RAID : BOOT คือฮาร์ดดิส RAID 0 ชื่อที่ตั้งไว้

การติดตั้งตามขั้นตอนปกติเหมือนทั่วไป สำหรับแผ่นที่รองรับ SATA RAID AHCI เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วรายการไดร์เวอร์จะแสดงดังรูป

การปรับแต่ง RAID 1 ก็คล้ายกัน

ตัวอย่าง

เปลี่ยนจาก RAID 0 เป็น RAID 1 แล้ว Assignment ใหม่ตามลำดับ

 

Windows Vista / Windows 7 ทั่วไปทุก Edition อาจจะไม่สามารถติดตั้งบน SATA3 RAID นี้ได้

( รุ่นใหม่ก็ยังคงหลักการเดิมๆ อยู่บ้างในการติดตั้งนะครับ…)

 

ตัวอย่างที่อาจพบเจอ คือ Windows 7 SATA RAID ติดตั้งไม่ได้

 

ขั้นตอนนี้ให้เตรียมไดร์เวอร์ SATA RAID ไว้ แล้วเลือกเพิ่มเข้าไป เหมือน กด F6 ในขั้นตอนการติดตั้ง Windows xp ที่ใช้ Floppy Disk A

ลำดับขั้นตอนนี้เป็นเพียงพื้นฐานคร่าว ก็ลองนำไปทดลองเพิ่มเติมกันนะครับ

 

หลังจากติดตั้งเสร็จ ทดลองใช้งาน การอ่านข้อมูลและการตอบสนองไฟล์งานขนาดใหญ่ ดีขึ้นมาก

** ยังมีอีกหลายโหมด เพื่อให้การทำงานนั้นดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/RAID

 

ขอขอบคุณ

สาคอมพิวเตอร์